ภูเก็ต ได้ชื่อว่าเป็น ดินแดนแห่งไข่มุกอันดามัน เคยเป็นดินแดนที่รุ่งโรจน์และมีความมั่งคั่งจากการทำเหมืองแร่ดีบุก ภูเก็ตมีแร่ดีบุกมากที่สุดในประเทศไทย ซึ่งการขุดแร่ดีบุกที่ภูเก็ต มีประวัติความเป็นมากว่า 500 ปีมาแล้ว ปัจจุบันภูเก็ตถือเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญแห่งหนึ่งของประเทศไทย พร้อมทั้งยังมี โรงแรมที่พัก พร้อมสรรพในทุกระดับราคาเพื่อรองรับนักท่องเที่ยวที่เข้ามายังจังหวัดภูเก็ต ตกเฉลี่ยปีละ 4- 5 ล้านคน
มนต์เสน่ห์ของภูเก็ตอยู่ที่ ตัวเกาะที่มีลักษณะเว้าเป็นอ่าวไปทั่วเกาะ ซึ่งทำให้เกิดชายหาดที่สวยงามมากมาย อีกทั้งยังเป็นเมืองที่มีชื่อเสียงในด้านตึกเก่าที่มีสถาปัตยกรรมแบบชิโน-โปรตุกีส ที่หาชมได้ยากในปัจจุบัน
มีคำขวัญประจำจังหวัดคือ "ไข่มุกอันดามัน สรรค์เมืองใต้ หาดทรายสีทอง สองวีรสตรี บารมีหลวงพ่อแช่ม"
ดอกเฟื่องฟ้า
เป็นดอกไม้ประจำจังหวัดภูเก็ต
ลักษณะภูมิประเทศ
ภูเก็ตมีพื้นที่ประมาณ 1.75 ล้านไร่ พื้นที่ส่วนใหญ่ประมาณร้อยละ 70 เป็นที่ราบสูงหรือภูเขา มีเทือกเขาทอดยาวในแนวเหนือใต้ ยอดเขาที่สูงที่สุดคือ ยอดเขาไม้เท้าสิบสอง ซึ่งสูงจากระดับน้ำทะเลปานกลาง 529 เมตร ตั้งอยู่ในพื้นที่ตำบลป่าตอง อำเภอกะทู้ และพื้นที่ส่วนที่เหลือประมาณร้อยละ 30 เป็นที่ราบแถบเชิงเขาและชายฝั่งทะเลอยู่บริเวณตอนกลางและตอนใต้ของเกาะ อีกทั้งในภูเก็ตมีคลองซึ่งมีขนาดไม่ใหญ่มากนัก ได้แก่ คลองบางใหญ่, คลองท่าจีน, คลองท่าเรือ และคลองบางโรง
ที่ตั้งและอาณาเขต ภูเก็ตเป็นจังหวัดหนึ่งทางภาคใต้ ด้านตะวันตกติดชายฝั่งทะเลอันดามัน มหาสมุทรอินเดีย ตั้งอยู่ระหว่างเส้นรุ้งที่ 7 องศา 45 ลิปดา ถึง 8 องศา 15 ลิปดาเหนือ และเส้นแวงที่ 98 องศา 15 ลิปดา ถึง 98 องศา 40 ลิปดา ตะวันออกประกอบด้วยเกาะภูเก็ตซึ่งเป็นเกาะที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย และเกาะบริวารอีก 12 เกาะ รวมเนื้อที่ประมาณ 570 ตารางกิโลเมตร ส่วนกว้างที่สุดของเกาะภูเก็ตเท่ากับ 21.3 กิโลเมตร ส่วนยาวที่สุดของเกาะภูเก็ตเท่ากับ 48.7 กิโลเมตร และมีอาณาเขตดังนี้ ภูเก็ตมีพื้นที่ทั้งหมดประมาณ 867 ตารางกิโลเมตร เป็นพื้นที่ของเกาะภูเก็ตร้อยละ 95.25 ที่เหลือนั้นเป็นพื้นที่ของเกาะภูเก็ตอยู่ห่างจากกรุงเทพฯ 862 กิโลเมตร มีอาณาเขตติดต่อกับพื้นที่ต่างๆดังนี้ ทิศเหนือติดต่อกับจังหวัดพังงา โดยมีสะพานสารสินเชื่อมอำเภอตะกั่วป่า จังหวัดพังงา
ทิศใต้และตะวันตกติดต่อกับทะเลอันดามัน
สำหรับฟาร์มเลี้ยงกุ้ง ส่วนใหญ่อยู่ทางชายฝั่งตะวันออกและใต้ของจังหวัด ส่วนฟาร์มเลี้ยงหอยมุกก็มีความสำคัญเช่นเดียวกัน ในส่วนท่าเรือประมงของภูเก็ต มีการทำประมงกันตลอดทั้งวัน และมีการแปรรูปผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำซึ่งใช้ปลาส่วนใหญ่ ซึ่งสิ่งต่างๆ ที่กล่าวมาข้างต้นนั้นมีบทบาทสำคัญต่อการสร้างรายได้ให้กับเศรษฐกิจภาคอุตสาหกรรม เป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้เกิดการจ้างงาน เกิดเป็นโครงการสาธารณูปโภค อาคารสำนักงาน โรงแรม และโครงการบ้านจัดสรรกว่าร้อยคูหา รวมไปถึงบ้านเดี่ยว อพาร์ทเมนท์ และสิ่งอำนวยความสะดวกอื่นๆ
อาชีพของประชากร
การประกอบอาชีพ
จากการจัดเก็บข้อมูลความจำเป็นพื้นฐานระดับจังหวัด (จปฐ.2 ) ปี 2552 ประชากรและครัวเรือนส่วนใหญ่ ประกอบอาชีพรับจ้างทั่วไป รองลงมา ประกอบอาชีพค้าขาย และ ประกอบอาชีพธุรกิจส่วนตัว
จากการจัดเก็บข้อมูลความจำเป็นพื้นฐานระดับจังหวัด (จปฐ.2 ) ปี 2552 ประชากรและครัวเรือนส่วนใหญ่ ประกอบอาชีพรับจ้างทั่วไป รองลงมา ประกอบอาชีพค้าขาย และ ประกอบอาชีพธุรกิจส่วนตัว
แสดงการประกอบอาขีพของประชากรในจังหวัดภูเก็ต
อาชีพ
|
จำนวนเพศชาย
(คน) |
จำนวนเพศหญิง
(คน) |
จำนวนรวม
(คน) |
ไม่มีอาชีพ
|
1,924
|
2,310
|
4,234
|
นักเรียน
|
5,784
|
5,468
|
11,252
|
นักศึกษา
|
748
|
927
|
1,675
|
ทำนา
|
6
|
4
|
10
|
ทำไร
|
16
|
5
|
21
|
ทำสวน
|
890
|
542
|
1,432
|
ประมง
|
551
|
230
|
781
|
ปศุสัตว์
|
6
|
5
|
11
|
รับราชการ
|
756
|
603
|
1,359
|
พนักงานรัฐวิสาหกิจ
|
244
|
194
|
438
|
พนักงานบริษัท
|
1,626
|
1,842
|
3,468
|
รับจ้างทั่วไป
|
20,310
|
18,745
|
39,055
|
ค้าขาย
|
2,814
|
3,929
|
6,743
|
ธุรกิจส่วนตัว
|
2,323
|
1,943
|
4,266
|
อื่นๆระบุ
|
7,078
|
9,489
|
16,567
|
รวมทั้งหมด
|
45,076
|
46,236
|
91,312
|