เทศกาลกินเจ หรือ เทศกาลกินผัก ภูเก็ต:
เทศกาลการกินเจ หมายถึง การถือศีลอย่างญวนและจีนที่ไม่กินของสดและของคาว แต่บริโภคอาหารประเภทผักที่ไม่มีของสดของคาวผสม ซึ่งมาจากรากศัพท์คำภาษาจีนที่ว่า "เจียฉ่าย" หมายถึง การกินอาหารผัก อาหารที่มาจากพืชผักธรรมชาติ ไม่มีเนื้อสัตว์ปะปน และไม่ปรุงด้วยผักฉุนทั้ง 5 ชนิด ได้แก่ กระเทียม หัวหอม หลัก เกียว กุยช่าย ใบยาสูบ และงดเว้นน้ำนมสด นมข้น ด้วย เพราะถือว่าเป็นของสดของคาว
เทศกาลกินเจของภูเก็ต จัดในช่วงวันขึ้น 1 ค่ำไปจนถึงขึ้น 9 ค่ำ เดือน 9 ของทุกปี ระหว่างเทศกาลกินเจตามรานค้าต่างๆ ทั่วจังหวัดจะนำธงสีเหลืองที่มีตัวหนังสือสีแดงมาประดับไว้หน้าร้าน เพื่อนั่นบ่งบอกให้รู้ว่า นี่คือเป็นช่วงเวลาของเทศกาลกินเจ หรือที่เรียกว่าประเพณีกินผัก เริ่มในเดือน กันยายนหรือเดือนตุลาคม
งานเทศกาลผ้อต่อ:
เป็นงานประเพณีของชาวภูเก็ตที่มีเชื้อสายจีน จัดพิธีในช่วงเดือน 7 ของจีน หรือเดือน 9 ของไทย โดยมีพิธีเซ่นไหว้บรรพบุรุษ และวิญญาณศักดิ์สิทธิ์ด้วยเครื่องบวงสรวง ซึ่งใช้ขนมชนิดหนึ่งทำด้วยแป้ง เป็นรูปเต่าขนาดใหญ่บ้างเล็กบ้าง ทาสีแดง ซึ่งคนจีนเชื่อว่าเต่าเป็นสัตว์ที่มีอายุยืน ดังนั้นการไหว้เต่า จึงเป็นการต่ออายุให้ตนเองและถือกุศลที่ยิ่งใหญ่
งานอนุสาวรีย์ท้าวเทพกษัตรีและท้าวศรีสุนทร:
งานจัดที่สี่แยกท่าเรือ บริเวณอนุสาวรีย์ท้าวเทพกษัตรีและท้าวศรีสุนทร ซึ่งห่างจากตัวเมืองภูเก็ตประมาณ 12 กิโลเมตร เป็นอนุสาวรีย์ที่ชาวภูเก็ตร่วมกันสร้างขึ้น เมื่อปี พ.ศ. 2509 ตรงกับวันที่ 13 มีนาคมของทุกปี มีการจัดงานเฉลิมฉลอง มีกิจกรรมต่างๆ มากมาย เพื่อรำลึกถึงเหตุการณ์ประวัติศาสตร์ที่สองวีรสตรีสามารถปกป้องเมืองถลางให้รอดพ้นจากข้าศึกพม่าและสดุดีในวีรกรรมของทั้งสองคน
เทศกาลอาหารทะเล
งานเทศกาลอาหารเริ่มในเดือนพฤษภาคมของทุกปี จุดประสงค์เพื่อที่จะเผยแพร่อาหารทะเลที่มีชื่อเสียงของจังหวัดภูเก็ต และชักชวนให้นักท่องเที่ยวให้เดินทางมาท่องเที่ยวที่จังหวัดภูเก็ตในช่วงฤดูฝน กิจกรรมของงานนี้มีการประกวดขบวนแห่ ของทรัพยากรท่องเที่ยวทางทะเล การออกร้านจำหน่ายอาหารทะเล การสาธิตอาหารประจำภาค และการแสดงศิลปวัฒนธรรมของภาคต่างๆ อีกด้วย
เทศกาลเปิดฤดูกาลท่องเที่ยว จังหวัดภูเก็ต:
ภูเก็ตเป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่มีความสวยงามที่สุดแห่งหนึ่งของประเทศไทย ที่มีทัศนียภาพทางแหล่งท่องเที่ยวที่สวยงามไม่ว่าจะเป็น ชายหาด เกาะ รวมไปจนถึงวัฒนธรรมประเพณีต่างๆ ที่นักท่องเที่ยวจากทุกมุมโลกต้องการที่จะเดินทางมาสัมผัสด้วยตัวเอง งานมักจะเริ่มในช่วง 1 พฤศจิกายนของทุกปี เพื่อต้อนรับฤดูการท่องเที่ยวที่เวียนมาถึงอีกครั้ง และเป็นการส่งเสริมความสามัคคีระหว่างผู้ประกอบธุรกิจสาขาต่างๆ หน่วยงานราชการและประชาชน
การแข่งขันนี้จัดขึ้นทุกๆ ปี โดยในแต่ละปีได้กำหนดเส้นทางการแข่งใหม่อยู่เสมอ การแข่งขันไตรกีฬา ประกอบไปด้วย ปั่นจักยาน ว่ายน้ำ และวิ่ง ใช้เวลาในการแข่งทั้งหมดราว 2-5 ชั่วโมง ผู้ชนะจะได้รับเงินรางวัล
งานประเพณีลอยเรือชาวเล:
พิธีเริ่มในกลางเดือน 6 และ 11 ของทุกปี โดยกลุ่มชาวเล ที่บริเวณหาดราไวย์และบ้านสะปำ จะมีพิธีลอยเรือในวันขึ้น 13 ค่ำ ส่วนชาวเลที่อาศัยที่แหลมกา ซึ่งอยู่ทางตอนเหนือของเกาะภูเก็ต จะมีพิธีลอยเรือในวันขึ้น 15 ค่ำ ประเพณีนี้ถือเป็นพิธีสะเดาะเคราะห์ของชาวเล คล้ายกับพิธีลอยกระทงของชาวไทย มีการสร้างเรือจากไม้ระกำ ตัดผมตัดเล็บ และทำตุ๊กตาไม้แทนคน ใส่ลงไปในเรือ แล้วนำไปลอยเพื่อนำเอาความทุกข์โศก เคราะห์ร้ายต่างๆ ออกไปกับทะเล แล้วมีการร่ายรำรอบเรือ หรือที่เรียกว่า รำรองเง็ง
งานลอยกระทงภูเก็ต:
การลอยกระทงในเมืองไทย มีมาตั้งแต่ครั้งสุโขทัย เรียกว่า การลอยพระประทีป หรือ ลอยโคม เป็นงานนักขัตฤกษ์รื่นเริงของประชาชนทั่วไป ต่อมานางนพมาศหรือท้าวศรีจุฬาลักษณ์สนมเอกของพระร่วง ได้คิดประดิษฐ์ดัดแปลงเป็นรูปกระทงดอกบัวแทนการลอยโคม การลอยกระทงหรือลอยโคมในสมัยนางนพมาศ กระทำเพื่อเป็นการสักการะรอยพระพุทธบาทที่แม่น้ำนัมมทานที ซึ่งเป็นแม่น้ำสายหนึ่งอยู่ในแค้วนทักขิณาบถของประเทศอินเดีย ปัจจุบันเรียกว่า แม่น้ำเนรพุททา
วันลอยกระทงเป็นประเพณีไทยที่มีมายาวนาน เพื่อเป็นการขอขมาต่อพระแม่คงคา โดยจะมีขึ้นในทุกวันเพ็ญขึ้น 15 ค่ำเดือน 12 ของทุกปี ในปีนี้ซึ่งตรงกับวันที่ 2 พฤศจิกายน คนไทยส่วนมากจะให้ความสำคัญกับวันนี้เป็นอย่างมาก ส่วนมากนิยมทำกระทงกันเอง โดยใช้วัสดุธรรมชาติ มาทำกระทง เพื่อไม่ให้เกิดมลภาวะแก่แม่น้ำลำคลองเช่น ต้นกล้วย ขนมปัง ฯลฯ ในวันลอยกระทงนี้เพื่อเป็นการขอขมาแม่คงคาแล้ว ยังช่วยสืบสานวัฒนธรรมประเพณีที่เก่าแก่ของคนไทยอีกด้วย
งานแข่งขันเรือใบชิงถ้วยพระราชทาน:
เริ่มมีขึ้นครั้งแรก เมื่อ พ.ศ. 2530 เพื่อเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ เนื่องในวโรกาสที่ทรงเจริญพระชนมายุครบ 5 รอบ และหลังจากนั้นจึงถือกำหนดจัดงานขึ้นในช่วงวันเฉลิมพระชนมพรรษา ซึ่งตรงกับวันที่ 5 ธันวาคมของทุกปี โดยมีเรือใบจากนานาประเทศทั่วโลกเข้าร่วมการแข่งขันเพื่อชิงถ้วยพระราชทานจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวญ จัดบริเวณ หาดในหาน
ประเพณีวันสงกรานต์จังหวัดภูเก็ต:
ประเพณีสงกรานต์เป็นประเพณีไทยที่สืบทอดกันมายาวนาน ที่จังหวัดภูเก็ตกิจกรรมเด่นของงานสงกรานต์จะอยู่ที่ การประกวดหนูน้อยสงกรานต์ และการประกวดเทพีสงกรานต์นานาชาติ ณ บริเวณเวทีกลาง ปากซอยบางลา หาดป่าตอง ระหว่างวันที่ 12-13 เมษายน ของทุกปี และกิจกรรมการทำบุญตักบาตรและรดน้ำขอพรจากผู้สูงอายุ ณ วัดสุวรรณคีรีวงก์ หาดป่าตองในวันที่ 13เมษายน ของทุกปี
วันสำคัญแต่ละวันในช่วงเทศกาลสงกรานต์
- วันมหาสงกรานต์และเป็นวันสุดท้ายของสงกรานต์แบบโบราณ , วันที่ 13 เมษายนของทุกปี
- วันส่งท้ายปีเก่า, วันที่ 14 เมษายนของทุกปี
- วันปีใหม่ไทย วันที่ 15 เมษายนของทุกปี
- วันมหาสงกรานต์และเป็นวันสุดท้ายของสงกรานต์แบบโบราณ , วันที่ 13 เมษายนของทุกปี
- วันส่งท้ายปีเก่า, วันที่ 14 เมษายนของทุกปี
- วันปีใหม่ไทย วันที่ 15 เมษายนของทุกปี
ตำนานเทพธิดาสงกรานต์:
โดยสมมุติผ่านนางสงกรานต์ทั้งเจ็ดเทียบกับแต่ละวันในสัปดาห์ ปีไหนตรงกับวันใด นางสงกรานต์ที่มีชื่อสมมุติเข้ากับวันนั้นๆ ก็จะเป็นผู้อัญเชิญพระเศียรท้าวกบิลพรหมออกแห่ไปสรงน้ำ ซึ่งนางสงกรานต์ทั้งเจ็ดนี้ เป็นเทพธิดาลูกสาวท้าวกบิลพรหม และเป็นบาทบริจาริกาของพระอินทร์ จากตำนานเล่าถึงท้าวกบิลพรหมแพ้พนันธรรมบาลกุมาร ต้องตัดเศียรออกบูชาธรรมบาลกุมารตามสัญญา แต่เนื่องจากพระเศียรของพระองค์ตกไปอยู่ที่ใด ก็จะเป็นอันตรายต่อที่นั้นไม่ว่าจะเป็นบนอากาศ บนดินหรือในน้ำ ดังนั้น ธิดาทั้งเจ็ดจึงต้องนำพานมารองรับ ธิดาทั้ง 7 มีชื่อตามวันเริ่มจากวันอาทิตย์ ทุงษ, โคราค, รากษส, มัณฑา, กิริณี, กิมิทาและมโหทร ซึ่งแต่ละพระองค์จะมีพาหนะ, อาทวุธ, เครื่องประดับ, ดอกไม้และภักษาไม่เหมือนกัน
งานประเพณีปล่อยเต่าทะเล
งานประเพณีปล่อยเต่าตรงกับวันที่ 13 เมษายน หรือวันสงกรานต์ของทุกปี กรมประมงได้กำหนดให้เป็นวันประมงแห่งชาติ จัดให้มีประเพณีปล่อยลูกเต่าลงทะเลโดยจะจัดงานในบริเวณหาดต่างๆ ในภูเก็ต
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น